หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

บุคคลสำคัญ

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี


นามเดิมของท่านคือ ม.ร.ว. เปีย มาลากุล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2414 เริ่มรับราชการเป็นเสมียนในกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ และได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา ในด้านภาษาไทยมาเป็นอย่างดี มีความรู้แตกฉาน และได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ "สมบัติผู้ดี" ซึ่งยังประโยชน์แก่กุลบุตรกุลธิดา ได้ยึดถือเป็นตำราที่มีคุณค่ามาจนทุกวันนี้ ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459.
ผลงาน
ด้านการศึกษา

               โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)จัดทำหลักสูตรโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เองสำหรับโรงเรียนเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน )
 เพลงสรรเสริญพระบารมี
                 แต่เดิม การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี มีการแยกเนื้อร้องที่ใช้สำหรับ ทหารเรือหรือพลเรือนร้อง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกเนื้อร้องบางวรรคบางตอน สำหรับชาย และหญิงร้องต่างกัน ทำให้เกิดความลักลั่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2445 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ได้ออกคำสั่ง กำหนดให้เพลงสรรเสริญพระบารมีมีเพียงเนื้อร้องเดียว เหมือนกันหมด
 เพลงสามัคคีชุมนุม
                พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลง สามัคคีชุมนุม โดยใช้ทำนองเพลง โอลด์แลงไซน์ ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ
 สมบัติผู้ดี
                 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม เล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ สมบัติผู้ดี ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติ 10 ประการของผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันสุจริต ท่านได้เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2455




สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต


ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลศรี ประสูติเมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 ทรงสำเร็จการศึกษาในวิทยาลัยเสนาธิการ แห่งเยอรมันนี ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหารหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารเรือ เสนาธิการกระทรวงทหารเรือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถ ในงานดนตรีเป็นอย่างมาก ทรงนิพนธ์เพลงไว้มากมาย เช่น วอทซ์ปลื้มจิต วอทซ์ชุมพล เพลงสุดเสนาะ เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาโศก ซึ่งใช้บรรเลงในงานศพ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ขณะทรงประทับอยู่ที่ประเทศชวา

ผลงาน
             สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงสีซอได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงต่อเพลงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ จนมีฝีพระหัตถ์ดีเยี่ยม และทรงต่อเพลงกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เป็นครั้งคราวพระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ ทั้งยังทรงเปียโนได้ดีอีกด้วย เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับที่วังบางขุนพรหม ทรงมีทั้งวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายประจำวังวงปี่พาทย์นั้นเริ่มแรกทรงใช้วงดนตรีมหาดเล็กเรือนนอก ซึ่งเป็นของตระกูลนิลวงศ์จากอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาทรงได้วงดนตรีของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) และจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งมีนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงประจำวง เช่น
นายทรัพย์ เซ็นพานิช - ระนาดเอก


จ่าเอกกมล มาลัยมาลย์ - ระนาดเอก


นายสาลี่ มาลัยมาลย์ - ระนาดเอก,ฆ้องวง


จ่าโทฉัตร สุนทรวาทิน - ระนาดทุ้ม


นายศิริ ชิดท้วม - ระนาดทุ้ม


นายช่อ สุนทรวาทิน - ฆ้องวงใหญ่


ร้อยเอก นพ ศรีเพชรดี - ฆ้องวงใหญ่


จ่าสิบเอก พังพอน แตงสืบพันธุ์ - ฆ้องวงเล็ก


นายละม้าย พาทยโกศล - เครื่องหนัง


จ่าสิบเอก ยรรยงค์ โปร่งน้ำใจ - เครื่องหนัง


นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล - ปี่ใน,ซอสามสาย


นางเจริญ พาทยโกศล - นักร้อง


จ่าเอก อิน อ๊อกกังวาล - นักร้อง


นางสาวสอาด อ๊อกกังวาล - นักร้อง


นางเทียม เซ็นพานิช - นักร้อง


คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ - นักร้อง


นางสว่าง คงลายทอง - นักร้อง


วงเครื่องสายทูลกระหม่อมบริพัตรฯส่วนวงเครื่องสายนั้นเป็นวงที่ทรงบรรเลงร่วมกับพระราชธิดา พระประยุรญาติ และผู้ใกล้ชิด มีนายสังวาล กุลวัลกี เป็นผู้ฝึกสอน นักดนตรีและนักร้อง เช่น
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต - ซอสามสาย


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง - ซอด้วง


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี - ซอด้วง


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร - ซออู้


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน - ซออู้


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย - จะเข้


คุณร่ำ บุนนาค - จะเข้


หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร - ซออู้


คุณบุญวิจิตร อมาตยกุล - ซออู้


คุณสุดา จาตุรงคกุล - ขลุ่ย


คุณหญิงแฉล้ม เดชประดิยุทธ์ -โทน,รำมะนา


คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ - นักร้อง


นางหอม สุนทรวาทิน - นักร้อง


นางเทียม กรานต์เลิศ - นักร้อง


นางสว่าง คงลายทอง - นักร้อง


               ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นั้น วังบางขุนพรหมเป็นศูนย์กลางการประชันวงปี่พาทย์ การแสดงดนตรี และการละเล่นต่างๆ และเป็นที่เกิดของเพลงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ส่วนวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมนั้น ก็เป็นวงที่มีชื่อเสียงมาก และได้เข้าร่วมในการประชันวงที่วังบางขุนพรหมเมื่อ พ.ศ. 2466 ซึ่งได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ เป็นต้นตำรับการขับร้องที่สืบทอดมาแต่โบราณ
               ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ทรงโปรดใช้เวลาว่างส่วนพระองค์ในการศึกษาวิชาดนตรี ทั้งด้านประสานเสียง และการประพันธ์เพลง จนทรงสามารถประพันธ์เพลง และทำหน้าที่เป็นวาทยากรได้อย่างคล่องแคล่ว เคยทรงเล่าประทานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระธิดา ฟังว่า “…ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ ทูลหม่อม (รัชกาลที่ 5) สั่งให้พ่อไปเรียนวิชาทหารเพื่อกลับมาปรับปรุงกองทัพไทย พ่อก็ไปเรียนวิชาทหาร บางครั้งพ่อเบื่อบางวิชาที่ต้องเรียนจนทนไม่ไหว ต้องเก็บพ็อกเก็ตมันนี่เอาแอบไปเรียนดนตรี แอบไปเรียนเพราะพวกผู้ใหญ่สมัยนั้นเห็นว่าวิชาดนตรีไม่เหมาะกับชายชาติทหาร เมื่อได้เรียนดนตรีที่พ่อรักก็สบายใจ เกิดความอดทนที่จะเรียนและทำงานที่พ่อเบื่อ…”
ทรงเริ่มแต่งเพลงสากลก่อนเพลงไทย เพลงชุดแรกๆ มีเพลงวอลทซ์โนรี และเพลงจังหวะโปลก้า ชื่อเพลงมณฑาทอง เป็นต้น
                     ทรงนิพนธ์เพลงไทยประสานเสียงแบบเพลงสากล เช่น เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสาครลั่น และทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาฑิต ทำให้แตรวงบรรเลงเพลงไทยได้ไพเราะ มีหลักการประสานเสียงดียิ่งขึ้น ได้ทรงประดิษฐ์เพลงแตรวงไว้หลายเพลง เช่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง เพลงเขมรใหญ่ เถา เพลงแขกมัสหรี เถา เพลงแขกสี่เกลอ เถา
เพลงที่ทรงนิพนธ์ไว้ทั้งสำหรับวงโยธวาฑิตและปี่พาทย์ เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา (พ.ศ. 2453) เพลงพม่าห้าท่อน เถา เพลงแขกสาย เถา (พ.ศ. 2471) เพลงพ่าห้าท่อน เถา เพลงพวงร้อย เถา
                        ทรงนิพนธ์เพลงเถาสำหรับปี่พาทย์ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา (พ.ศ. 2471) เพลงอาถรรพ์ เถา (พ.ศ. 2471) เพลงสมิงทองเทศ เถา (พ.ศ. 2473) และภายหลังเมื่อเสด็จไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังได้ทรงนิพนธ์เพลงสำหรับวงปี่พาทย์ไม้แข็งขึ้นอีกหลายเพลง เช่น เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา (พ.ศ. 2480) เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา (พ.ศ. 2480) และเพลงสุดถวิล เถา (พ.ศ. 2484)ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ทรงปรับปรุงวงดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารเรือ จนสามารถบรรเลงเพลงประเภทซิมโฟนีได้ดีเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน

 พระนิพนธ์
เพลงฝรั่ง


เพลงวอลทซ์ปลื้มจิตต์


เพลงวอลทซ์ประชุมพล


เพลงสุดเสนาะ


เพลงมณฑาทอง


เพลงวอลทซ์เมฆลา


เพลงมหาฤกษ์


เพลงสรรเสริญเสือป่า


เพลงวอลทซ์โนรี


เพลงสาครลั่น


เพลงโศรก


เพลงนางครวญ 3 ชั้น


เพลงไทยแท้


เพลงแขกมอญบางขุนพรหม


เพลงสุดสงวน 2 ชั้น


เพลงเขมรพวง 3 ชั้น


เพลงเขมรชมจันทร์


เพลงสารถี 3 ชั้น


เพลงสบัดสบิ้ง


เพลงทยอยนอก


เพลงทยอยเขมร


เพลงทยอยในเถา


เพลงแขกเห่


เพลงถอนสมอ


เพลงแขกมัสซีรี


เพลงครอบจักรวาฬเถา


เพลงบุหลันชกมวย 3 ชั้น


เพลงเขมรใหญ่เถา


เพลงพม่าเถา


เพลงแขกสี่เกลอเถา


เพลงแขกสายเถา


เพลงบาทสกุณี


เพลงขับไม้


เพลงเขมรโพธิสัตว์เถา


เพลงไทยเดิม ซึ่งเป็นทางและทำนองสำหรับใช้บรรเลงพิณพาทย์โดยตรง


เพลงแขกสายเถา


เพลงอาถรรพ์เถา


เพลงแขกสาหร่าย 3 ชั้น


เพลงสมิงทองมอญเถา


เพลงอาเฮีย


เพลงสารถี 3 ชั้น


เพลงไทยเดิม ทรงพระนิพนธ์เมื่อเสด็จจากกรุงเทพฯ แล้วไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย


เพลงต้นแขกไทร 2 ชั้น


เพลงครวญหาเถา


เพลงกำสรวญสุรางค์


เพลงอักษรสำอางค์และเพลงสุรางค์จำเรียง


เพลงจีนลั่นถัน


เพลงจีนเข้าห้อง


เพลงน้ำลอดใต้ทรายเถา


เพลงขยะแขยง 3 ชั้น


เพลงจีนเก็บบุปผาเถา


เพลงดอกไม้ร่วง


เพลงเทวาประสิทธิ์เถา


เพลงวิลันดาโอด


เพลงจิ้งจกทองเถา


เพลงตนาวเถา


เพลงพวงร้อยเถา


เพลงถอนสมอเถา


เพลงพระจันทรครึ่งซีกเถา




เจ้าพระยาบดินทรเดชา
                         นามเดิมของท่านคือ สิงห์ สิงหเสนี เกิดในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2320 เมื่อเริ่มเข้าราชการเป็นสมุหนายก ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชานับเป็นขุนพลแก้วคู่พระราชบัลลังก์ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องอยู่ตลอดเวลา ผลงานที่นับว่ายิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยของท่านคือ สามารถปราบกบฎเวียงจันทน์ จนได้ตัวเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์มาสำเร็จโทษ และตีญวณที่เข้ายึดครองกัมพูชา ให้กลับสู่พระบรมโพธิสมภารดังเดิม ทำให้แผ่นดินไทยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล และท่านยังเป็นบุคคลเพียงท่านเดียว ที่มีอนุสาวรีย์อยู่นอกอาณาเขตไทย คือตั้งอยู่ที่ประเทศกัมพุชา ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2398 ผู้เป็นต้นตระกูล
สิงหเสนี

ผลงาน
ด้านการสงคราม


แม่ทัพใหญ่ในศึกปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์
แม่ทัพใหญ่ในเหตุการญวณแทรกแซงเขมร
ว่าราชการที่เขมรกว่า 10 ปี
ช่วยทำราชการปราบปรามจีนตั้วเหี่ยที่ก่อการกำเริบที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

ด้านศาสนา
ปฏิสังขรณ์วัด "วัดสามปลื้ม" ปัจจุบันคือ วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
ปฏิสังขรณ์วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดพระนครในรัชกาลที่ 3 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดปรินายก และทรงปฏิสังขรณ์ต่อมา
ปฏิสังขรณ์วัดช่างทอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านผู้หญิงฝักผู้เป็นมารดาได้สร้างไว้ อยู่ที่เกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปฏิสังขรณ์วัดวรนายกรังสรร (เขาดิน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สร้าง วัดตึก ปัจจุบันคือ วัดเทพลีลา
ยกที่บ้านถวายเป็นวัด สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสนาสนะพร้อม มีชื่อว่าวัดไชยชนะสงครามแต่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าวัดตึกจนทุกวันนี้ อยู่ตรงข้ามกับเวิ้งนครเขษมใกล้สี่แยกวัดตึก จังหวัดพระนคร
สร้างวัดที่เมือง พัตบอง และอุดรมีชัย
โรงเรียนพระปริยัติธรรมเจ้าพระยาบดินทรเดชา วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
สร้างวัดหัวโค้ง ปัจจุบันคือ วัดปากบ่อ


พระยาศรีสุนทรโวหาร


                        นามเดิมของท่านคือ น้อย อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365 ท่านมีผลงานที่เด่นมากในวงการศึกษา ท่านเป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (โรงเรียนหลวงแห่งแรก) และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กลองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง ท่านถึงแก่อสัญญกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2434.

ผลงาน
-มูลบทบรรพกิจ2.3) ทรงมีงานพระราชนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทความ สารคดี นิทาน บทละคร รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และบาลี ทั้งที่พระราชนิพนธ์เองและทรงแปล ทรงใช้ทั้งพระนามจริงและพระนามแฝง เช่น วชิราวุธ อัศวพาหุ สุครีพ พันแหลม รามจิตติ ศรีอยุธยา บทพระราชนิพนธ์มีหลากหลายประเภท เช่น บทความปลุกใจในหนังสือพิมพ์ บทละคร โคลง กลอน เพื่อสร้างทัศนคติหรือค่านิยม ความคิด ความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา การเมือง สังคม ความรัก การชมธรรมชาติ

-วาหนิติ์นิกร
-อักษรประโยค
-สังโยคภิธาน
-ไวพจน์พิจารณ์
-พิศาลการันต์
-อนันตวิภาค
-เขมรากษรมาลา (เป็นแบบหนังสือขอม)
-นิติสารสาธก
-ปกีรณำพจนาตถ์ (คำกลอน)
-ไวพจน์ประพันธ์
-อุไภยพจน์
-สังโยคภิธานแปล
-วิธีสอนหนังสือไทย
-มหาสุปัสสีชาดก
-วรรณพฤติคำฉันท์
-ฉันท์กล่อมช้าง
-ฉันทวิภาค
-ร่ายนำโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
-โคลงภาพพระราชพงศาวดาร รูปที่ ๖๕ และ ๘๕
-คำนมัสการคุณานุคุณ
-สยามสาธก วรรณสาทิศ
-พรรณพฤกษา
-สัตวาภิธาน
-ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อ พ.ศ. 2437 นับเป็นพระองค์ที่ 2 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ


พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้


1. ด้านการเมืองการปกครอง


1.1) ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน โดยเน้นความจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ทรงใช้วิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อเป็นศูนย์รวมใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ความสำนึกในหน้าที่พลเมืองที่ดีของชาติ และสำนึกในความเสียสละของบรรพบุรุษ เช่น ทรงสร้างธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติ ทรงกำหนดให้มีวันสำคัญ บุคคลสำคัญของชาติ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้วันที่ 6 เมษายนเป็นวันชาติ เรียกว่า "วันจักรี" ตามแบบอารยประเทศที่มีวันชาติของตน เป็นต้น


1.2) ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งต่อมาเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับผลดี คือ ได้ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้มีฐานะเท่าเทียมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ได้เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ และถือเป็นโอกาสดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่ผูกมัดไทยมานานนับตั้งแต่สนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398






2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม


2.1) ทรงสร้างความเป็นสากลให้แก่ชาติไทย โดยนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม เช่น ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ. 2456 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม เพื่อปลูกฝังให้ชาวไทยมีความรู้สึกสำนึกและภาคภูมิใจในชาติ ในวงศ์ตระกูล ทรงประกาศใช้คำนำหน้านาม คือ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย ทรงให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้น ทรงเรียกร้องให้ชาวไทยตระหนักถึงฐานะและสิทธิของสตรี ทรงดำเนินการต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมการศึกษาของสตรีโดยตั้งโรงเรียนให้ฝึกหัดครูสตรี แล้วส่งออกไปสอนในชนบทต่าง ๆ เปิดโอกาสให้สตรีเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเท่าเทียมบุรุษ เช่นเดียวกับสตรีในอารยประเทศ กำหนดให้ข้าราชการในราชสำนักจดทะเบียนครอบครัวและเคหสถานเพื่อให้ครอบครัวเกิดความเรียบร้อยสงบสุข และเป็นการยกฐานะของภรรยาให้ชัดเจนขึ้น ทรงเปลี่ยนธงชาติใหม่จากธงรูปช้างเป็นธงไตรรงค์ และทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล คือ จากเดิมวันใหม่หรือย่ำรุ่งของไทย เริ่มในเวลา 6 นาฬิกา เปลี่ยนเป็นเริ่มวันใหม่ตั้งแต่หลัง 24 นาฬิกา เป็นต้น


2.2) ทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (คือ วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 2554 สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ใน พ.ศ. 2459 และทรงประกาศให้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 เป็นการเริ่มการศึกษาภาคบังคับ




สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ 

                     ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระวิมาดาเธอฯ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ประสูติเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 ทรงสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขารัฐศาสตร์การปกครอง และวิชาประวัติศาสตร์ แล้วเสด็จกลับมารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลังภังค์(กรมการปกครอง) ต่อมาทรงดำรงค์ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลภาคใต้ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันรักษาความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรจากพวกล่าอาณานิคม ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 8 เมษายน
พ.ศ. 2475
ผลงาน
1. ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่

1.1) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงวัง เพื่อวางรากฐานการบริหารราชการให้มีความมั่นคง

1.2) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับนอกกรุงเทพ ฯ และนอกประเทศ

2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีฝีมือทางด้านการช่าง งานศิลปะเกือบทุกแขนง ทรงมีผลงานด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์และดนตรี ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกประจำปี พ.ศ. 2506

                     ผลงานที่มีคุณค่าและมีชื่อเสียงของพระองค์ เช่น ผลงานออกแบบพระอุโบสถวัดราชาธิวาสและสถูปเจดีย์หลังพระอุโบสถ ออกแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ออกแบบตรากระทรวงต่าง ๆ อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านภพลีลา ภาพจิตรกรรมมัจฉาชาดกที่หอพระคันธารราษฎรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดารสมัยอยุธยา ภาพร่างเรื่องเวสสันดรชาดกสำหรับเขียนลงบนผนังอุโบสถวัดราชาธิวาส ภาพเขียนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง อีกทั้งทรงมีความรอบรู้และมีฝีมือทางดนตรีไทย ทรงประพันธ์เพลงต่าง ๆ มากมาย เช่น เพลงเขมารไทรโยค เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาชัย เป็นต้น
                   นอกจากนี้ทรงเขียนจดหมายอภิปรายเรื่องต่าง ๆ ของไทยกับสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น จดหมายของทั้งสองพระองค์นี้ต่อมาพิมพ์ในชื่อ "สาสน์สมเด็จ" ซึ่งนับเป็นคลังความรู้หนึ่งในการศึกษาเรื่องต่าง ๆ ของไทย
                      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

                   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อ พ.ศ. 2437 นับเป็นพระองค์ที่ 2 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ด้านการเมืองการปกครอง

1.1) ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน โดยเน้นความจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ทรงใช้วิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อเป็นศูนย์รวมใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ความสำนึกในหน้าที่พลเมืองที่ดีของชาติ และสำนึกในความเสียสละของบรรพบุรุษ เช่น ทรงสร้างธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติ ทรงกำหนดให้มีวันสำคัญ บุคคลสำคัญของชาติ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้วันที่ 6 เมษายนเป็นวันชาติ เรียกว่า "วันจักรี" ตามแบบอารยประเทศที่มีวันชาติของตน เป็นต้น

1.2) ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งต่อมาเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับผลดี คือ ได้ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้มีฐานะเท่าเทียมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ได้เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ และถือเป็นโอกาสดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่ผูกมัดไทยมานานนับตั้งแต่สนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398
2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม

2.1) ทรงสร้างความเป็นสากลให้แก่ชาติไทย โดยนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม เช่น ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ. 2456 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม เพื่อปลูกฝังให้ชาวไทยมีความรู้สึกสำนึกและภาคภูมิใจในชาติ ในวงศ์ตระกูล ทรงประกาศใช้คำนำหน้านาม คือ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย ทรงให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้น ทรงเรียกร้องให้ชาวไทยตระหนักถึงฐานะและสิทธิของสตรี ทรงดำเนินการต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมการศึกษาของสตรีโดยตั้งโรงเรียนให้ฝึกหัดครูสตรี แล้วส่งออกไปสอนในชนบทต่าง ๆ เปิดโอกาสให้สตรีเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเท่าเทียมบุรุษ เช่นเดียวกับสตรีในอารยประเทศ กำหนดให้ข้าราชการในราชสำนักจดทะเบียนครอบครัวและเคหสถานเพื่อให้ครอบครัวเกิดความเรียบร้อยสงบสุข และเป็นการยกฐานะของภรรยาให้ชัดเจนขึ้น ทรงเปลี่ยนธงชาติใหม่จากธงรูปช้างเป็นธงไตรรงค์ และทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล คือ จากเดิมวันใหม่หรือย่ำรุ่งของไทย เริ่มในเวลา 6 นาฬิกา เปลี่ยนเป็นเริ่มวันใหม่ตั้งแต่หลัง 24 นาฬิกา เป็นต้น

2.2) ทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (คือ วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 2554 สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ใน พ.ศ. 2459 และทรงประกาศให้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 เป็นการเริ่มการศึกษาภาคบังคับ

2.3) ทรงมีงานพระราชนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทความ สารคดี นิทาน บทละคร รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และบาลี ทั้งที่พระราชนิพนธ์เองและทรงแปล ทรงใช้ทั้งพระนามจริงและพระนามแฝง เช่น วชิราวุธ อัศวพาหุ สุครีพ พันแหลม รามจิตติ ศรีอยุธยา บทพระราชนิพนธ์มีหลากหลายประเภท เช่น บทความปลุกใจในหนังสือพิมพ์ บทละคร โคลง กลอน เพื่อสร้างทัศนคติหรือค่านิยม ความคิด ความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา การเมืองสังคม ความรัก การชมธรรมชาติ